ประวัติและที่ไปที่มาของสินสอด

-A A +A
ประวัติและที่ไปที่มาของสินสอด

ประวัติและที่ไปที่มาของสินสอด

ย้อนกลับไปสมัยก่อนการที่คู่รักจะได้พบปะเจอกันหนึ่งทีถือเป็นเรื่องที่ยาก การจะเจอกันแต่ละครั้งต้องใช้เวลาต้องใช้ความพยายามและความอดทนกันอย่างมาก เพราะยังไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวเหมือนในปัจจุบัน ไม่มีสยามให้เดิน ไม่มีคาเฟ่ให้นั่งชิว ไม่มีไลน์ให้ส่งข้อความบอกความรู้สึก ไม่มีอินสตาแกรมให้กดหัวใจ และไม่มีคุกกี้ให้เสี่ยงทายให้ฟัง มีแต่เพียงการนัดพบ ซึ่งนาน ๆ เจอกันที จนเมื่อความรักบังเกิดหนุ่มสาวตกลงปลงใจจะอยู่ร่วมกัน สินสอดจึงมีบทบาทขึ้นมา มันได้ทำหน้าที่คล้ายการมัดจำความรักให้แก่ฝ่ายเจ้าสาว เพื่อไม่ให้เจ้าบ่าวทอดทิ้งงานไปกลางคัน ซึ่งสินสอดนั้นมีชื่อเรียกอีกอย่างตามภาษาคนโบราณว่า ‘ค่าน้ำนมข้าวป้อน’

 

คำว่า 'สินสอด' ประกอบด้วยคำว่า สิน กับคำว่า สอด สิน แปลว่า เงิน สอด แปลว่า ใส่เข้าในช่องหรือในที่แคบ ๆ สินสอด จึงแปลว่า เงินที่ใส่เข้าในช่องแคบ ๆ เมื่อพ่อแม่ของฝ่ายชายไปขอลูกสาวของบ้านใด ก็จะต้องนำสินสอดมอบให้พ่อแม่หรือผู้ปกครองของฝ่ายหญิง เงินที่ฝ่ายชายนำไปมอบให้เพื่อเป็นการตอบแทนที่ได้ดูแลหญิงสาวมาจนโต จนได้สมรสกัน นั้นจึงเรียกว่า 'สินสอด' และเรียกกันมาจนถึงทุกวันนี้

 

ขั้นตอนการนับสินสอดตามแบบฉบับประเพณีไทย

 

1. แกะห่อผ้าสินสอด อันดับแรกให้ผู้ใหญ่ฝ่ายชายทำการแกะผ้าห่อพานสินสอด จากนั้นผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงจะนำผ้าที่เตรียมไว้มาวางบนพานรับขันหมาก โดยผู้ใหญ่ฝ่ายชายจะหยิบใบเงิน ใบทอง ใบนากเรียงบนผ้าเป็นคู่ ๆ บนพาน

 

2. ให้ฝ่ายหญิงได้นับสินสอด โดยการวางสินสอดไว้ด้านบน หากแต่เป็นธนบัตรก็จะเรียงเป็นวงกลมก่อน แล้วจึงตามด้วยสิ่งอื่น เช่น แก้ว แหวน เงิน ทองต่าง ๆ และวางบนธนบัตรอีกทีหนึ่ง

 

3.หลังจากนั้นฝ่ายเจ้าสาวจะทำการตรวจนับสินสอดตามธรรมเนียม ซึ่งตามประเพณีโบราณนิยมใส่สินสอดเกินจากจำนวนที่ตกลงกันไว้ เพื่อฝ่ายหญิงเวลาตรวจนับสินสอดแล้ว จะได้อุทานว่า "เงินงอก" เพื่อเป็นเคล็ดให้บ่าวสาว เมื่ออยู่ด้วยแล้วจะได้มีเงินงอกเงย

 

4.เมื่อนับสินสอดเรียบร้อยแล้ว จะเป็นการให้พรแก่บ่าวสาว ตามความหมายของสิ่งต่าง ๆ ผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายจะช่วยกันโปรยข้าวตอก งา ถั่ว ดอกไม้ ใบเงิน ใบทอง ใบทองที่บรรจุมาในพานขันหมากเอกลงบนสินสอด

 

5.มัดสินสอดทั้งหมดแล้วแบกขึ้นบ่าตามประเพณี ซึ่งจะต้องทำท่าทางหนัก และพูดเอาเคล็ดด้วยว่า "ห่อนี้หนักจริง ๆ คงมีเงินงอกงามมากมายเต็มบ้านเต็มเรือน" ถือเป็นอันเสร็จสิ้น

 

ความหมายสิ่งที่โปรย

 

-ข้าวตอก หมายถึง จะมีฐานะใหญ่โต

 

-ถั่วเขียว งาดำ หมายถึงความงอกงาม

 

-ใบเงิน ใบทอง ใบนาก หมายถึง แก้ว แหวน เงิน ทอง

 

-ดอกดาวเรือง และดอกบานไม่รู้โรย หมายถึง ให้อยู่กันยืนยาว

 

-พลูเรียง หมายถึง นับแต่นี้ต่อไปทั้งสองฝ่ายจะเป็นญาติเรียง พี่เรียงน้องกัน

 

-หมากมีรสฝาด มีคุณลักษณะในทางประสานแผล ซึ่งหมายถึง เมื่อเกิดความผิดพลาดล่วงเกินไป ก็ให้อภัยกัน โดยการให้อภัยนั้น จะทำให้ความสัมพันธ์ประสานให้ดีดังเดิมได้

 

จะเห็นได้ว่าพิธีสมรสตามแบบฉบับประเพณีไทยเป็นอะไรที่น่ารักมาก และดูมีคุณค่าอย่างยิ่ง ทั้งเรื่องของการแปลความหมายสิ่งของที่โปรย หรือการแก้เคล็ดต่าง ๆ การนับสินสอด จะเห็นได้ว่ามีความตั้งใจและ มีความงามตามขนบธรรมเนียมประเพณีไทยมาก ๆ ซึ่งน่ารักษาเป็นอย่างยิ่ง

แสดงความคิดเห็น

 

ข้อควรทราบ เนื่องจากผู้ดูแลหลักของเว็บไซต์เป็นคนตาบอด หากพบการแสดงผลที่ผิดเพี้ยนและสร้างความไม่สะดวกต่อการใช้งาน โปรดแจ้งทีมงานได้ในทุกช่องทาง

เราอยากให้สมาชิกทุกท่านอยู่กันอย่างครอบครัวที่อบอุ่น ให้สังคมภายในเว็บ เป็นสังคมที่ดี ดังนั้น สมาชิกทุกท่านโปรดเคารพในสิทธิของตนเองและผู้อื่น

ผลงานที่ถูกเผยแพร่บนเว็บ ให้ถือว่าลิขสิทธิ์เป็นของผู้เผยแพร่เอง ห้ามมิให้บุคคลอื่นนำไปเผยแพร่ ก็อปปี้ หรือนำไปดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของผลงานโดยเด็ดขาด หากมีการฝ่าฝืน แล้วถูกดำเนินคดีจากเจ้าของผลงาน ทางเว็บมิขอเกี่ยวข้อง เพราะได้แจ้งเตือนเอาไว้อย่างชัดเจนแล้ว

หากพบบทความที่มีเนื้อหาไปในทางใส่ร้ายผู้อื่น หรือทำให้ผู้อื่นเสียหาย แจ้งเข้ามาได้ตามช่องทาง Email keangun2018@gmail.com ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทางทีมงาน จะทำการตรวจสอบ และหากเป็นจริง จะนำผลงานดังกล่าวออกจากเว็บไซต์ ไม่เกิน 1 วัน

Copyright © 2018-2024 keangun. All Right Reserved.