รถกระบะมีกี่ประเภท และควรเลือกซื้อ ประกันรถกระบะแบบไหนที่เหมาะกับรถเรา
‘รถกระบะ’ หรือ ‘รถปิคอัพ’ ถือเป็นรถที่ได้รับความนิยมในไทยอย่างมากเพราะมันใช้งานได้หลากหลาย ทั้งเดินทางหรือใช้บรรทุกสินค้าต่าง ๆ หากแต่ผู้ขับขี่ที่เป็นมือใหม่อาจจะไม่รู้ว่าควรเลือก ประกันรถกระบะ แบบไหนดี ดังนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับรถกระบะแต่ละประเภท พร้อมทั้งแนะนำวิธีเลือกประกันให้เหมาะกับรถของตัวเองกัน
ประเภทของรถกระบะ
สำหรับรถกระบะหรือรถปิคอัพที่นิยมใช้กันในบ้านเรานั้นมีด้วยกัน 4 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้
- กระบะตอนเดียว: เป็นรถกระบะที่ไม่มีเบาะหลัง แต่มีพื้นที่กระบะค่อนข้างมาก ส่วนใหญ่นิยมใช้ขนของ หรือนำไปติดอุปกรณ์เสริม เช่น หลังคา Carryboy หรือคอก รถกระบะตอนเดียวที่พบได้ทั่วไป เช่น ISUZU SPARK, TOYOTA Standard Cab, FORD Standard Cab เป็นต้น
- กระบะตอนครึ่ง: เรียกอีกอย่างว่า ‘กระบะแคป’ เพราะจะมีพื้นที่ว่างด้านหลังคนขับ สามารถใช้เป็นที่นั่งเสริมหรือใช้เก็บสัมภาระได้ โดยรถกระบะตอนครึ่งที่พบได้บ่อย ๆ เช่น ISUZU Spacecab, TOYOTA Smart Cab/Xtracab, FORD Open Cab เป็นต้น
- กระบะ 4 ประตู: เรียกอีกอย่างว่า ‘Double Cab’ เป็นรถกระบะที่มีพื้นที่ภายในห้องโดยสารกว้างขวาง สามารถโดยสารได้ถึง 5 ที่นั่ง พบได้บ่อย ๆ เช่น ISUZU Cab4, TOYOTA Double Cab, FORD Double Cab เป็นต้น
- กระบะยกสูง: เป็นรถกระบะสายวิบากมีทั้งแบบตอนครึ่งและ 4 ประตู ถูกออกแบบให้สามารถขับลุยน้ำลุยโคลนได้ดี แถมมองวิสัยทัศน์ที่ดีกว่าตัวกระบะธรรมดาเพราะห้องโดยสารอยู่สูงกว่า โดยรถกระบะยกสูงที่เห็นได้บ่อย ๆ เช่น ISUZU Hi-lander, TOYOTA Prerunner, FORD Hi-rider เป็นต้น
วิธีเลือกประกันให้เหมาะกับรถกระบะ
- อายุการใช้งานของรถ: สำหรับรถใหม่ที่มีอายุไม่เกิน 1-10 ปี ควรเลือกประกันชั้น 1 ที่ให้ความคุ้มครองความเสียหายครอบคลุม แต่หากเป็นรถเก่าที่ใช้งานมานานก็ควรเลือกประกันชั้น 2 หรือ 3 จะเหมาะกว่า เพราะเน้นความคุ้มครองด้านอุบัติเหตุอย่างรถชนหรือไฟไหม้โดยเฉพาะ
- พฤติกรรมผู้ขับขี่: สำหรับผู้ขับขี่มือใหม่ที่ไม่มีความชำนาญควรเลือกประกันชั้น 1 เพราะให้ความคุ้มครองครอบคลุมทั้งกรณีที่เป็นผู้ก่อเหตุและผู้เสียหาย แต่สำหรับผู้ขับขี่ที่มีประสบการณ์ มีความชำนาญเส้นทาง และไม่เคยมีประวัติเกิดอุบัติเหตุมาก่อน ก็อาจจะเลือกประกันชั้น 2 หรือชั้น 3 ที่เน้นความคุ้มครองต่อคู่กรณีเป็นหลัก
สำหรับใครที่กำลังสงสัยว่า หากเกิดอุบัติเหตุ ต้องส่งซ่อมอู่หรือซ่อมห้าง ท้้งสองอย่างแตกต่างกันอย่างไร DirectAsia มีคำตอบ
ซ่อมห้าง คือ การนำรถเข้าซ่อมศูนย์บริการ เช่น ศูนย์โตโยต้า ศูนย์ฮอนด้า ศูนย์มาสด้า เป็นต้น
ข้อดี
- มีอะไหล่แท้ไว้รองรับ พร้อมซ่อมได้ทันที ทำให้ประหยัดเวลา
- รับประกันงานซ่อม หากมีปัญหาในระยะเวลารับประกัน
- มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ได้รับการซ่อมที่ได้มาตรฐาน
ข้อเสีย
- ข้อเสียของซ่อมห้าง คือ ราคาจะแพงกว่าซ่อมอู่ เพราะมีค่าภาษี ค่าใช้จ่ายจากการเปลี่ยนอะไหล่และค่าแรงที่สูงกว่า
- ต้องรอคิวเข้าซ่อม ทำให้ใช้เวลาในการซ่อมนาน
อ่านบทความ ซ่อมห้างคือ ที่ https://www.directasia.co.th/blog/did-you-know/different-types-of-auto-repair-garages/
ซ่อมอู่ คือ การนำรถเข้าซ่อมอู่ในเครือบริษัทประกันหรือซ่อมอู่ใกล้บ้าน
ข้อดี
- ค่าเบี้ยประกันรถและราคาค่าซ่อมถูกกว่าซ่อมห้าง
- มีอู่ให้เลือกมากมาย สามารถเลือกใกล้บ้านหรือที่เราสะดวกได้เลย
- ระยะเวลาซ่อมไม่นานเท่าซ่อมห้าง
ข้อเสีย
- อะไหล่ที่ใช้ในการซ่อม บางครั้งอาจไม่ใช่อะไหล่แท้
- หากเกิดปัญหาหลังซ่อม ถ้าเป็นการซ่อมอู่นอกเครือ ทางลูกค้าจะต้องติดต่อรับผิดชอบด้วยตัวเอง
ซื้อประกันรถกระบะกับ Directasia ดีอย่างไร
สำหรับใครที่ต้องการ ซื้อประกันรถยนต์ออนไลน์ เราขอแนะนำประกันรถยนต์ของ Directasia ที่มีประกันให้เลือกหลากหลาย ตอบโจทย์ผู้ขับขี่ทั้งมือใหม่และผู้ที่มีประสบการณ์ ที่สำคัญคือไม่ต้องใช้เงินก่อน สามารถผ่อนแบบสบายกระเป๋า 0% นาน 10 เดือน รองรับทั้งบัตรเครดิต/เบดิต เคลมประกันง่าย การันตีเจ้าหน้าที่ถึงที่เกิดเหตุภายใน 30 นาที
ใครที่สนใจอยากทำประกันรถยนต์ Directasia ก็สามารถเข้าไปลอง เช็คเบี้ยประกันรถยนต์ แต่ละชั้นได้ที่เว็บไซต์ของ Directasia ตลอด 24 ชั่วโมง
ที่มาข้อมูล
- https://toautocar.com/กระบะ-มีกี่ประเภท/
- https://www.directasia.co.th/blog/lifestyle/how-to-choose-the-pickup-2-door-insurance/
- 👁️ ยอดวิว 83
แสดงความคิดเห็น