รีวิว ยุทธศาสตร์กู้ชาติของราชามือใหม่

-A A +A
ยุทธศาสตร์กู้ชาติของราชามือใหม่ รีวิวอนิเมะ

รีวิว ยุทธศาสตร์กู้ชาติของราชามือใหม่

หมวดบทความ: 

 

ยุทธศาสตร์กู้ชาติของราชามือใหม่

現実主義勇者の王国再建記 Genjitsu Shugi Yuusha no Oukoku Saikenki

How a Realist Hero Rebuilt the Kingdom

ยุทธศาสตร์กู้ชาติของราชามือใหม่

ตัวละคร

โซมะ คาสึยะ (相馬 一也 / ソーマ・カズヤSōma Kazuya)

ลีเชีย เอลฟรีเดน (リーシア・エルフリーデンRīshia Erufurīden)

ไอชา อุดการ์ด (アイーシャ・ウドガルドAīsha Udogarudo)

จูน่า โดม่า (ジュナ・ドーマJuna Dōma)

 Roroa Amidonia  (ロロア・アミドニアRoroa Amidonia)

ยุทธศาสตร์กู้ชาติของราชามือใหม่ เป็นอนิเมะแนวแฟนตาซีการบริหารประเทศในต่างโลก โดยเรื่องราวเกี่ยวกับชายหนุ่มชื่อโซมะ คาสึยะ ที่ถูกอัญเชิญให้ไปเป็นผู้กล้าในต่างโลก  แต่ทำไปทำมาเขากลับได้เป็นราชาของอาณาจักรเอลฟรีเดน (Elfrieden) เสียอย่างนั้น ท่ามกลางการต่อสู้ของมนุษย์และปีศาจที่จ้องจะยึดครองดินแดน ประกอบกับวิกฤตขาดแคลนอาหาร (Global food crisis) ทำให้โซมะต้องแก้ไขวิกฤตการขาดแคลนอาหารในอาณาจักรอีกทั้งยังต้องมาหมั้นหมายกับเจ้าหญิงของอาณาจักรที่ชื่อว่า ลีเชีย เอลฟรีเดน

ด้วยความที่โซมะ คาสึยะเป็นนักศึกษามนุษยศาสตร์ที่มาเป็นผู้กล้า ซึ่งได้นำความรู้เกี่ยวกับแนวคิดสัจนิยมและแนวคิดมาเกียเวลลีมาประยุกต์ใช้ในการฟื้นฟูอาณาจักรเอลฟรีเดน เขาเริ่มตามหาผู้ที่มีความสามารถทางด้านต่าง ๆ โดยการใช้เครื่องมือสื่อสารของอาณาจักร ที่เมื่อก่อนไม่เคยมีใครใช้ทำแบบนี้มาก่อน

สำหรับผม ยุทธศาสตร์กู้ชาติของราชามือใหม่ 現実主義勇者の王国再建記 Genjitsu Shugi Yuusha no Oukoku Saikenki How a Realist Hero Rebuilt the Kingdom เป็นอนิเมะที่หน้าดูอีกเรื่องนึงเลยทีเดียว

การดำเนินเรื่องในอนิเมะเรื่องนี้มีความสมจริง  โซมะไม่ได้ใช้พลังวิเศษหรือความสามารถพิเศษใด ๆ ในการกู้อาณาจักรเอลฟรีเดน แต่สิ่งที่เขาใช้คือความรู้ทางด้านการบริหารและการปกครอง ซึ่งแนวคิดที่โซมะยึดถือก็คือแนวคิดแบบ สัจนิยม
ตัวอย่างเช่น

• การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ โดยส่งเสริมการค้าและการลงทุน พัฒนาการเกษตรกรรม และปฏิรูประบบภาษี

• การปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การศึกษาให้กับทาสในอาณาจักร  และสาธารณสุข รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงระบบค่าราชการในอาณาจักรเอลฟรีเดน

• การสร้างความเข้มแข็งทางทหาร โดยพัฒนากองทัพให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ สิ่งนี้เป็นสิ่งที่โซมะพัฒนาหลังจาก เมื่อโซมะจัดการวิกฤตการทางด้านอาหารให้กับประชาชนในอาณาจักรได้แล้ว

นอกจากนี้ อนิเมะเรื่องนี้ยังสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาและอุปสรรคที่ประเทศกำลังพัฒนาต้องเผชิญ เช่น ปัญหาหนี้สิน ปัญหาความยากจน ปัญหาการทุจริต ปัญหาความขัดแย้งภายในประเทศ โซมะต้องเผชิญกับปัญหาเหล่านี้และเขายังต้องหาทางแก้ไขปัญหาอย่างรอบคอบ ทั้งการวางแผนกำจัดขุนนางที่เป็นศัตรู การสังหารขุนนางทั้งต่อหน้าและลับหลัง หากดูตอนแรกอาจจะคิดว่าโซมะ คาซึยะมีคุณธรรม แต่ทว่าหากดูไปดีดีแล้วจะพบว่าตัวละครตัวนี้ มีทั้งความดีและเจ้าเล่ห์เพทุบายในตัวเอง 

การวิเคราะห์อุดมคติในอนิเมะ

อนิเมะเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นถึงอุดมคติของการบริหารประเทศแบบสัจนิยม โดยให้ความสำคัญกับความรู้และหลักการทางการบริหาร โดยที่โซมะ นั้นไม่ได้ยึดติดทั้งความถูกต้องหรือคุณธรรมมากเกินไป อย่างที่นักคิดมาเคียเวลลี กับการรักษาอำนาจ จนถูกเรียกว่าเจ้าของศาสตร์ทรราชที่โซมะใช้อ้างอิงในการปกครองได้กล่าวไวว่า

“เพื่อที่จะได้รู้จักธรรมชาติของ ประชาชนได้เป็นอย่างดี ผู้นั้นจักต้องเป็นผู้ปกครอง และ เพื่อที่จะได้รู้จักธรรมชาติของเหล่าผู้ปกครองได้เป็นอย่างดี ผู้นั้นจักต้องเป็นประชาชน”

โซมะไม่เคยเชื่อในอุดมคติหรือมายาคติ แต่กลับกันเขากับใช้แนวคิดแบบสัจนิยม อย่างเช่น

• การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ เพื่อสร้างรากฐานที่มั่นคงให้กับประเทศ

• การปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชน เพื่อสร้างความพึงพอใจและความสุขให้กับประชาชน

• การสร้างความเข้มแข็งทางทหาร เพื่อปกป้องประเทศจากภัยคุกคามภายนอก

อุดมคติเหล่านี้สอดคล้องกับทฤษฎีทางการบริหารแบบสัจนิยม ที่เน้นการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นจริงในโลก

อย่างไรก็ตาม อนิเมะเรื่องนี้ก็ยังมีทฤษฎีที่ตรงข้ามกันอยู่บ้าง ตัวอย่างเช่น

• ทฤษฎีแบบชาตินิยม กับ ทฤษฎีแบบโลกาภิวัตน์

โซมะ คาสึยะ ให้ความสำคัญกับการสร้างชาติเอลฟรีเดนให้เข้มแข็ง เช่น การที่เขาให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นต่าง ๆ ผ่านรายการที่โซมะจัดขึ้น ชื่อรายการ จานพระราชา  มีการให้นักร้องสาวไปร้องเพลงปรุกใจให้กับประชาชนฟัง มีการให้สัมภาษณ์ออกรายการการกระจายเสียง อีกทั้งโซมะ คาซึยะ ยังเน้นการสร้างกองทัพให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ การพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมภายในประเทศ และส่งเสริมความสามัคคีของคนในชาติ แนวคิดเหล่านี้สอดคล้องกับทฤษฎีแบบชาตินิยม ที่เน้นการปกป้องผลประโยชน์ของชาติและความเป็นเอกภาพของชาติ

อย่างไรก็ตาม แนวคิดแบบชาตินิยมก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากทฤษฎีแบบโลกาภิวัตน์ ที่มองว่าในยุคปัจจุบัน โลกได้กลายเป็นโลกาภิวัตน์แล้ว ชาติต่าง ๆ ไม่สามารถอยู่อย่างโดดเดี่ยวได้ จำเป็นต้องร่วมมือกันเพื่อแก้ไขปัญหาและอุปสรรคร่วมกัน แนวคิดแบบโลกาภิวัตน์จึงให้ความสำคัญกับความร่วมมือระหว่างประเทศและการสร้างสันติภาพ
              ซึ่งในอนิเมะโซมะ คาซึยะ จะมีการร่วมมือกับอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ที่สุด และโซมะยังได้ผนวกอาณาจักรที่เป็นศัตรูเพื่อความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรของตนโดยการใช้ ทฤษฎีเสรีนิยมอีกด้วย

 

• ทฤษฎีแบบเสรีนิยม กับ ทฤษฎีแบบสังคมนิยม
 

โซมะ คาซึยะ ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการค้าและการลงทุน พัฒนาการเกษตรกรรม และปฏิรูประบบภาษี แนวคิดเหล่านี้สอดคล้องกับทฤษฎีแบบเสรีนิยม ที่เน้นการส่งเสริมเสรีภาพทางเศรษฐกิจและการค้าเสรี

อย่างไรก็ตาม แนวคิดแบบเสรีนิยมก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากทฤษฎีแบบสังคมนิยม ที่มองว่าระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมเอื้อประโยชน์ให้กับคนรวยและสร้างความเหลื่อมล้ำในสังคม แนวคิดแบบสังคมนิยมจึงให้ความสำคัญกับการกระจายรายได้อย่างเท่าเทียมและการสร้างสวัสดิการสังคมอุดมคติของการบริหารประเทศแบบสัจนิยมที่ปรากฏในอนิเมะเรื่องนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของความรู้และหลักการปกครองได้อย่างดี

ถึงแม้ว่า โซมะ คาซึยะ จะไม่ได้เป็นราชาที่ดีสำหรับขุนนางที่ไม่จงรักพักดี แต่สำหรับประชาชนแล้วโซมะ คาซึยะ เป็นราชาที่หน้าเคารพนับถือ เขาได้นำความเจริญมายังอาณาจักร นำอาหารมาให้ประชาชน รวมทั้งเสรีภาพอีกด้วย

สำหรับใครที่อยากดู สามารถไปดูได้ที่
iqiyi

ภาคไทย
https://shorturl.asia/3nQXW

 

ซับไทย​

https://shorturl.asia/ObEg5

ซับภาษาที่ปรับได้ อังกฤษ ไทย จีน

ผู้ที่บกพร่องทางการเห็นก็อ่านซับได้เหมือนกันนะครับ 

แสดงความคิดเห็น

 

ข้อควรทราบ เนื่องจากผู้ดูแลหลักของเว็บไซต์เป็นคนตาบอด หากพบการแสดงผลที่ผิดเพี้ยนและสร้างความไม่สะดวกต่อการใช้งาน โปรดแจ้งทีมงานได้ในทุกช่องทาง

เราอยากให้สมาชิกทุกท่านอยู่กันอย่างครอบครัวที่อบอุ่น ให้สังคมภายในเว็บ เป็นสังคมที่ดี ดังนั้น สมาชิกทุกท่านโปรดเคารพในสิทธิของตนเองและผู้อื่น

ผลงานที่ถูกเผยแพร่บนเว็บ ให้ถือว่าลิขสิทธิ์เป็นของผู้เผยแพร่เอง ห้ามมิให้บุคคลอื่นนำไปเผยแพร่ ก็อปปี้ หรือนำไปดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของผลงานโดยเด็ดขาด หากมีการฝ่าฝืน แล้วถูกดำเนินคดีจากเจ้าของผลงาน ทางเว็บมิขอเกี่ยวข้อง เพราะได้แจ้งเตือนเอาไว้อย่างชัดเจนแล้ว

หากพบบทความที่มีเนื้อหาไปในทางใส่ร้ายผู้อื่น หรือทำให้ผู้อื่นเสียหาย แจ้งเข้ามาได้ตามช่องทาง Email keangun2018@gmail.com ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทางทีมงาน จะทำการตรวจสอบ และหากเป็นจริง จะนำผลงานดังกล่าวออกจากเว็บไซต์ ไม่เกิน 1 วัน

Copyright © 2018-2024 keangun. All Right Reserved.