เซียมซี ความเชื่อที่มาจากการเสี่ยงทาย
เซียมซี ความเชื่อที่มาจากการเสี่ยงทาย
การไปวัดทำบุญฟังเทศน์ ฟังธรรม ปล่อยนกปล่อยปลา ไม่เพียงแต่ทำจิตใจเราให้สงบแล้ว ยังช่วยให้เรารู้สุกดี ซาบซึ้งในบุญที่ได้ทำลงไป เกิดการปลื้มปิติ การทำบุญก็คือการให้ ให้ด้วยใจที่บริสุทธิ์ นอกจากการทำบุญแล้ว นอกบริเวณแทบทุกวัด ยังมีการขายล็อตเตอรี่ที่พร้อมเสริ์ฟให้กับผู้ที่ชอบความเสี่ยงในตัวเลขเป็นอย่างมาก ใครโชคดีก็จะได้รางวัล ถูกรางวัลรับเงินกันไป แต่ถ้าใครที่ชอบในเรื่องคำทำนาย เสี่ยงทาย บอกกล่าวเรื่องราวชีวิตที่จะเกิดขึ้น แน่นอนว่า จะต้องเลือกเสี่ยงเซียมซี ซึ่งต้องอาศัยการเขย่าและทำสมาธิ รวมไปถึงการแปลความหมายของใบเซียมซีว่าเป็นอย่างไร ซึ่งหลายคนอาจจะสงสัยในเรื่องนี้และเราได้นำบทความจากเว็บไซต์โพสทูเดย์ที่ได้เขียนเกี่ยวกับเซียมซีไว้ว่า คนไทยรู้จักเซียมซีเกือบทุกคน แต่จะมีสักกี่คนที่รู้จักที่มาที่ไปของ “เซียมซี” วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร ย่านธนบุรี มีคำตอบ เพราะในหนังสือประวัติวัดกัลยาณมิตรที่พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานถวายผ้าพระกฐินพระราชทานของกระทรวงการคลัง ประจำปี 2553 ได้เล่าถึงความเป็นมาของใบเซียมซีไว้อย่างละเอียด (ข้อความ) ใบที่หนึ่งสมมาตรปรารถนา ทายไว้ว่ามีคนชุบอุปถัมภ์ หมายสิ่งใดในจิตคิดจะทำ ว่าคงสำเร็จการประมาณมี แต่ช้าๆ จึงสมอารมณ์ปอง ทั้งพวกพ้องปรีดิ์เปรมเกษมศรี ว่าอยู่เย็นเป็นสุขทุกเดือนปี แม้นใบนี้ถามโรคที่โศกกาย ว่าคงจะเบาบางเหมือนอย่างว่า หรือถามหาลูกหนี้พี่น้องหมาย ว่าคงจะพบพักตร์เหมือนทักทาย หรือถามหมายหาลาภไม่หยาบคำ ว่าช้าๆ คงจะสมอารมณ์นึก ได้ก้องกึกเหล่ากอเป็นข้อขำ ถามหาคู่ดีนักเหมือนชักนำ ขอจบคำที่หนึ่งรำพึงเอย เซียมซีใบที่ 12 ของสำนักเดียวกัน มีข้อความว่า ใบที่สิบสองคนหนึ่งเดินนำหน้า คนหนึ่งว่าตามหลังมาทั้งสอง เปรียบเหมือนคนกับใบ้น้ำใจปอง พูดไม่คล่องแสนยากลำบากครัน ว่าจะมีคนชุบอุปถัมภ์ เหมือนถ้อยคำพาทีคนที่ฝัน เวลาตื่นหายไปร้อนใจครัน ให้ป่วนปั่นเปล่าๆ ไม่เข้าการ ถามหาคู่สู่สมภิรมย์พักตร์ ว่าร้ายนักจงแจ้งแถลงสาร ถามเป็นความว่าดีไม่มีวาน ถามถึงการเพื่อนรักประจักษ์ใจ ว่าคงจะได้สมอารมณ์นึก ที่ตกลึกจงแจ้งแถลงไข พบพี่ป้าลุงน้าเพื่อนอาลัย ถามหาลาภไม่สู้ดีเท่านี้เอย สิ้นสุดใบเซียมซีแต่ละใบจะมีภาษาจีนกำกับ หากเป็นของเดิมออริจินัลต้องมีข้อความว่า “ข้าพเจ้าแซ่ส่อง ชื่อเปลี่ยน เป็นผู้แปลงเซียมซีจีนเป็นไทยถวาย ท่านทั้งหลายอย่าได้ติเลยว่าเป็นคำกลอน เพราะของจีนเขาก็เป็นคำกลอนเหมือนกัน” ที่ยกมาเพื่อให้อ่านพอเป็นตัวอย่าง หากต้องการเสี่ยงเซียมซีว่าดวงชะตาเป็นอย่างไร ตกหมายเลขอะไร ต้องไปเขย่าติ้วที่หน้าหลวงพ่อซำปอกง หรือพระพุทธไตรรัตนนายกในวิหารใหญ่วัดกัลยาณมิตร แล้วจะรู้เองจะเป็นอย่างไร เพราะมีให้เสี่ยงทายตั้ง 28 ใบ หนังสือของวัดเล่าว่า เซียมซีวัดกัลยาณมิตรนั้นมีที่มานับร้อยปี ผู้ที่ทำเรื่องนี้ไว้ได้แก่ นายเปลี่ยน แซ่ส่อง โดยมีข้อความว่า ไม้ติ้วเสี่ยงทาย เซียมซี มีความหมายได้ว่า “เซียม” หมายถึง ไม้ติ้วเสี่ยงทาย “ซี” หมายถึงโคลงกลอน แปลเอาความได้ว่า สลากบอกผลเสี่ยงทายจากไม้ติ้วที่พิมพ์เป็นคำกลอน...
ข้อควรทราบ เนื่องจากผู้ดูแลหลักของเว็บไซต์เป็นคนตาบอด หากพบการแสดงผลที่ผิดเพี้ยนและสร้างความไม่สะดวกต่อการใช้งาน โปรดแจ้งทีมงานได้ในทุกช่องทาง
เราอยากให้สมาชิกทุกท่านอยู่กันอย่างครอบครัวที่อบอุ่น ให้สังคมภายในเว็บ เป็นสังคมที่ดี ดังนั้น สมาชิกทุกท่านโปรดเคารพในสิทธิของตนเองและผู้อื่น
ผลงานที่ถูกเผยแพร่บนเว็บ ให้ถือว่าลิขสิทธิ์เป็นของผู้เผยแพร่เอง ห้ามมิให้บุคคลอื่นนำไปเผยแพร่ ก็อปปี้ หรือนำไปดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของผลงานโดยเด็ดขาด หากมีการฝ่าฝืน แล้วถูกดำเนินคดีจากเจ้าของผลงาน ทางเว็บมิขอเกี่ยวข้อง เพราะได้แจ้งเตือนเอาไว้อย่างชัดเจนแล้ว
หากพบบทความที่มีเนื้อหาไปในทางใส่ร้ายผู้อื่น หรือทำให้ผู้อื่นเสียหาย แจ้งเข้ามาได้ตามช่องทาง Email keangun2018@gmail.com ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทางทีมงาน จะทำการตรวจสอบ และหากเป็นจริง จะนำผลงานดังกล่าวออกจากเว็บไซต์ ไม่เกิน 1 วัน
Copyright © 2018-2024 keangun. All Right Reserved.
แสดงความคิดเห็น