ความเข้าใจในภาษา “ถิ่นอีสาน” กับภาษา “ไทยกลาง” ที่ไม่ตรงกัน
ความเข้าใจในภาษา “ถิ่นอีสาน” กับภาษา “ไทยกลาง” ที่ไม่ตรงกัน
ความเข้าใจในภาษา “ถิ่นอีสาน” กับภาษา “ไทยกลาง” ที่ไม่ตรงกัน
สำหรับบางคนที่ไม่ได้เกิดในถิ่นอีสาน หรือคนสมัยใหม่ที่บางคนอาจไม่เข้าใจในภาษาถิ่นอีสานมากพอ แล้วก็นำไปวิจาณย์เสียๆ หายๆ ราวกับตัวเองคิดถูกต้องซะเต็มประดา
ที่เห็นชัดเจนเลยคือคำว่า “อีพ่ออีแม่” หรือ “อิพ่ออิแม่”
คนที่ไม่เข้าใจก็พูดไปว่า เป็นภาษาที่ “ไม่สุภาพ” บ้างละ “ไม่เหมาะสม” บ้างละ...กระทั่งบางคนว่าเป็นการว่าพ่อว่าแม่ตัวเอง จะส่งผลให้เป็นบาปเลยก็มี!
เนื่องเพราะคำว่า “อี” สำหรับภาษาไทยกลางแล้ว ตามความเข้าใจหรือความหมายคือคำที่ใช้ด่ากัน หรือใช้เรียกกัน โดยเป็นความหมายที่ไม่มีความสุภาพ เช่น “อีนั่น อีนี่” เป็นต้น
จริงๆ ท่านเข้าใจผิด...ถึงผิดมากๆ!
ถ้าจะให้ผมตีความคำว่า “อีพ่อ...อีแม่” แล้ว ผมว่ามันก็คล้ายกับคำว่า “คุณพ่อคุณแม่” ของภาษาไทยกลางนั่นแหละ เพียงแต่การใช้คำมีความ 'ต่าง' กัน มีวัฒนธรรมทางการพูดที่ไม่เหมือนกันก็เท่านั้นเอง
เพราะเหตุนี้ก็เลยพลอยทำให้ภาพลักษณ์ของภาษาถิ่นดูไม่ดีตามไปด้วย ซึ่งก็อาจมีผลเสียกับภาษาถิ่นตามมาภายหลัง บางครั้งถ้าเราไม่รู้ ก็ไม่ควรคิดเองเออเอง ควรถามเจ้าของภาษาถิ่นนั้นๆ ก่อน ไม่ใช่นึกตีความในทางไม่ดีอย่างไรก็ตีความกันไปตามความเข้าใจส่วนตัว
อีกคำที่เข้าใจผิดกันค่อนข้างชัดเลยก็คือคำว่า “เสี่ยว” หรือ “ไอ้เสี่ยว” คำนี้วัยรุ่นที่ไม่มีความเข้าใจในภาษาถิ่นอีสานมากพอเข้าใจผิด และนำไปใช้ดูถูกคนอีสานกันเยอะ
เพราะไปเข้าใจแบบไหนในความหมายใดกันก็ไม่ทราบ จึงกลายมาเป็นคำดูถูกชาวอีสานกันซะได้
จริงๆ แล้วคำว่า “เสี่ยว” มันคือคำว่า “เพื่อนตาย” หรือ “เพื่อนที่ดี” หรือคำว่า “มิตรที่ดี มิตรที่ตายแทนกันได้” ไม่ใช่ “คำดูถูกชาวอีสาน” ดังที่บางคนเข้าใจ และนำไปใช้ในแบบ 'ผิดๆ ' กัน
ด้วยประเทศไทยเราเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมท้องถิ่นมากมาย ดังนั้นเพื่อการสื่อสารที่ดี หรือเพื่อการสื่อสารที่ให้เข้าใจตรงกัน ก็ควรต้องศึกษาภาษา หรือข้อควรปฏิบัติของผู้คนในแต่ละท้องถิ่นเอาไว้บ้าง ทั้งนี้เพื่อความสัมพันธ์ที่ดีของประชาชนชาวไทยด้วยกันเอง...ไม่ว่าจะเป็นคนภาคใด ภาษาถิ่นแบบไหน ก็ยังเป็นประชาชนคนไทยเหมือนกัน ยึดถือสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์เช่นเดียวกัน
แสดงความคิดเห็น