วิเคราะห์คุณค่าของวรรณคดี เรื่อง มณีพิชัย
วรรณคดี เรื่อง มณีพิชัย
ที่มาของเรื่อง
มณีพิชัย เป็นวรรณคดีที่ถือกำเนิดขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระ พุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี) ซึ่งถือเป็นยุคทองของวรรณคดี เพราะพระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถในเรื่องอักษรศาสตร์ งานกวี การประพันธ์ และทรงเอาพระราชหฤทัยใส่ในการทำนุบำรุงวรรณคดีไทยให้เจริญรุ่งเรืองเฟื่องฟู และในยุคนี้ได้มีการฟื้นฟูวรรณคดีจากสมัยอยุธยาที่สูญหายไปเพราะถูกเผาทำลายเมื่อครั้งเสียกรุงครั้งที่สอง ยุคนี้จึงมีวรรณคดีเกิดขึ้นหลายเรื่อง และยังมีกวีคนสำคัญเกิดขึ้นด้วย
มณีพิชัย เป็นที่รู้จักกันในชื่อเรื่องว่า "ยอพระกลิ่น" เข้าใจกันว่าเป็นบทพระราชนิพนธ์ในล้นเกล้า รัชกาลที่ ๒ โดยทรงพระราชนิพนธ์เป็นกลอนสำหรับใช้เป็นบทละครนอก ซึ่งความจริงรัชกาลที่ 2 แต่งเฉพาะตอนที่ยอพระกลิ่น ปลอมตัวเป็นพราหมณ์มาขอพระมณีพิชัยไปเป็นทาส ส่วนเนื้อเรื่องตามต้นเรื่องและบทท้ายนั้น จากหนังสือ "รวมพระราชนิพนธ์บทละครนอก ๖ เรื่อง" ไม่ได้ระบุว่าใครเป็นผู้แต่ง
ความมุ่งหมาย เพื่อใช้แสดงละครนอกสร้างความบันเทิงให้กับประชาชน
ลักษณะคำประพันธ์ แต่งด้วยกลอนบทละคร
เรื่องย่อ
ท้าววรกรรณ และ พระนางบุษบง ได้จัดงานเลือกคู่พระธิดา ชื่อ เกศนี มีราชา และเจ้าชายจากต่างเมือง มาเลือกคู่มากมาย และนางกลับเลือกชายที่สติไม่เต็ม ท้าววรกรรณจึงขับไล่ออกนอกวัง ชายบ้าใบ้จึงแปรงเป็นพระอินทร์ดังเดิม และพานางขึ้นไปครองรักกันบนสวรรค์ มีธิดาด้วยกันนามว่า ยอพระกลิ่น แต่ทวยเทพไม่สามารถครองรักกับมนุษย์ได้ถือว่าผิดกฎสวรรค์ พระอินทร์จึงเสกปล้องไผ่ให้ยอพระกลิ่นอยู่ และเสกสิ่งอำนวยความสะดวกให้จนยอพระกลิ่นโตเป็นสาว ยอพระกลิ่นมีกลิ่นกายหอมประดุจดอกไม้ เมื่อพระโอรสมณีพิชัยแห่งเมืองอยุธยามาพบปล้องไผ่ที่มีกลิ่นหอมรันจวนของดอกไม้ก็อยากรู้ว่าข้างในปล้องไผ่นั้นมีอะไร พระองค์จึงฟันปล้องไผ่ขาด และพบกับยอพระกลิ่นที่อยู่ข้างใน เกิดความรักความเสน่หา พระองค์จึงพายอพระกลิ่นไปเข้าเฝ้าองค์เหนือหัวพิไชยนุราชพระบิดา และ พระมเหสีจันทรเทวีพระมารดา กราบทูลว่ายอพระกลิ่นเป็นฯพระชายาของพระองค์ พระบิดาดีพระทัยมาก แต่พระมารดาไม่พอพระทัยเพราะพระโอรสมณีพิชัยมีพระคู่หมั้นและต้องเข้าพิธีอภิเษกกับราชธิดาแห่งพระเจ้ากรุงจีนซึ่งมีศักดิ์เป็นพี่เขยอยู่แล้ว แต่กลับมีพระชายาเสียนี่ และพระมเหสีจันทรเทวีเป็นผู้ที่ถือยศถือศักดิ์มาก พระนางจึงไม่ปรารถนาที่จะได้ผู้หญิงไม่มีหัวนอนปลายเท้ามาเป็นสะใพ้ พระนางจึงเกลียดชังยอพระกลิ่นนัก
วันหนึ่ง พระนางจันทรเทวีคิดแผนให้นากำนัลตัดหางแมว นำเลือดแมวไปป้ายปากยอพระกลิ่น เอาศพแมวไปใส่ไว้ในห้องของนาง แล้วใส่ความว่านางเป็นผีร้าย นางจึงถูกขับออกจากวัง พระอินทร์แปรงกายลงมาบอกให้ลูกสาวแปรงเป็นพราหมณ์น้อยรอแก้แค้นอยู่ที่สระน้ำ ครั้นพระมเหสีมาสงน้ำ
ก็โดนงูกัด พราหมณ์ยอพระกลิ่นจึงตามไปช่วยรักษา บอกว่า ถ้าพระมเหสีจันทรเทวีบอกความจริงเรื่องยอพระกลิ่นจะรักษาให้ แต่ถ้าไม่บอกความจริงก็จะปล่อยให้ตาย พระมเหสีจึงยอมบอกความจริงทั้งหมด พราหมณ์ยอพระกลิ่นจึงรักษาให้ และขอองค์มณีพิชัยไปเป็นทาสสักระยะหนึ่ง แม้พราหมณ์ยอพระกลิ่นจะปลอมเป็นผู้หญิงมายั่วเย้า แต่องค์มณีพิชัยก็ไม่ชายตาแลแม้แต่น้อย เมื่อเห็นว่าสวามีมีความซื่อสัตย์และมั่นคงในรัก พราหมณ์น้อยยอพระกลิ่นจึงคืนองค์มณีพิชัยกลับให้ไปปกครองอยุธยาตามเดิม
ฝ่ายพระเจ้ากรุงจีนก็รอว่าเมื่อไรองค์มณีพิชัยจะมาอภิเษกกับธิดาองค์เล็กเสียที องค์มณีพิชัยจะเสด็จกรุงจีน พราหมณ์น้อยยอพระกลิ่นจึงขอตามเสด็จไปด้วยเมื่อพระเจ้ากรุงจีนทรงทราบว่าองค์มณีพิชัยมีชายาแล้วก็แกล้งให้ไปหาขันหมากมาหนึ่งพันชุด องค์มณีพิชัยและพราหมณ์น้อยจึงหนีออกมาจากกรุงจีน หลงเข้าไปในเมืองยักษ์และหมดสติไปด้วยมนต์แห่งเมืองยักษ์ พระนางวาสันเจ้าเมืองจึงจับองค์มณีพิชัยหมายจะให้เป็นสวามีของพระธิดาผกา ธิดาของพระนาง เมื่อฟื้นขึ้น พราหมณ์น้อยยอพระกลิ่นเห็นว่าองค์มณีพิชัยถูกจับและต้องเข้าพิธีอภิเษกกับธิดานางยักษ์วาสัน ก็รำพันต่างๆนาๆ และแปรงกับเป็นยอพระกลิ่นตามเดิม แต่ก็ไม่สามารถออกมาจากเมืองยักษ์ได้ พระอินทร์จึงต้องลงมาแก้ไขและพาทั้งสองกลับเมืองอยุธยา ในที่สุดองค์มณีพิชัยและพระนางยอพระกลิ่นก็ได้ครองเมืองอยุธยาด้วยกันอย่างมีความสุข
ตัวอย่างคำประพันธ์
แม่กลัวกรุงจีนจะโกรธา
ยกมารบพุ่งเอากรุงใหญ่
จึงแกล้งทำแยบยลกลใน
พาโลลูกสะใภ้ด้วยมารยา
เอาเลือดวิฬาร์ทาปากนาง
ตัดหางแซมใส่ในเกศา
แล้วขับไล่ไปเสียจากพารา
พาลผิดริษยานางทรามวัย
แม่ทำชั่วน่าชังครั้งนี้
เพราะจะให้พระมณีมีเมียใหม
บอกเจ้าตามจริงทุกสิ่งไป
อย่าให้แม่ม้วยชีวี
เป็นตอนที่พระนางจันทรเทวีสารภาพความจริงว่าตนตัดหางแมวแล้วเอาเลือดแมวป้ายปากยอพระกลิ่น ทำเช่นนี้เพื่อไม่ต้องการให้เกิดศึกใหญ่จากกรุงจีน แต่ลึกๆแล้ว พระนางก็ไม่อยากได้ผู้หญิงที่ไม่มีหัวนอนปลายเท้ามาเป็นฯสะใพ้ จึงวางแผนกำจัดยอพระกลิ่น
คุณค่าทางวรรณศิลป์
1. คุณค่าทางศีลธรรม
เรื่องนี้มีการกล่าวถึงบาปบุญคุณโทษไว้อย่างชัดเจน ในตอนที่พระนางจันทรเทวีใส่ความยอพระกลิ่นว่ากินแมว จนนางต้องถูกขับออกจากเมือง เป็นการทำผิดศีลธรรมอย่างยิ่ง เพราะพระนางสั่งตัดหางแมว เป็นฯการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต และใส่ร้ายป้ายสีผู้บริสุทธิ์ทำให้เกิดความแตกแยก สุดท้ายนางก็โดนงูกัดเกือบเอาชีวิตไม่รอด ฝ่ายยอพระกลิ่นดำรงตนอยู่ในศีลในธรรมมาโดยตลอด ช่วยชีวิตทั้งเพื่อนมนุษย์และสัตว์น้อยใหญ่ ด้วยจิตใจดีงามของนางส่งผลให้ผิวพรรณผ่องใส กลิ่นกายหอมประดุจดอกไม้ และความดีที่นางสั่งสมอยู่เสมอ ทำให้ชีวิตประสบความสุขความเจริญ ดั่งภาษิตโบราณที่ว่า “คนดีตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้” นั่นเอง
2. คุณค่าทางอารมณ์
กวีถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกของตัวละครออกมาได้อย่างชัดเจน มีอารมณ์สะเทือนใจของยอพระกลิ่นเมื่อถูกขับออกจากเมือง อารมณ์รักใฝ่เสน่หาขององค์มณีพิชัยกับยอพระกลิ่น ความรักและความห่วงไยระหว่างพ่อพระอินทร์ที่มีต่อลูกสาวยอพระกลิ่น อารมณ์เกลียดชังของพระนางจันทรเทวีที่มีต่อยอพระกลิ่น เรียกได้ว่า ครบถ้วนกระบวนความในเรื่องอารมณ์ของมนุษย์ทั้งรัก โลภ โกรธ หลง กันเลยทีเดียว
3. คุณค่าทางจินตนาการ
เรื่องนี้มีการถ่ายทอดจินตนาการผ่านตัวละคร ซึ่งในชีวิตประจำวันมนุษย์ไม่สามารถทำได้ เช่นเหาะเหินเดินอากาศ การแปรงกาย หรือสิ่งมีชีวิตอื่นที่ไม่ใช่มนุษย์อย่างยักษ์
4. คุณค่าในด้านสภาพชีวิตบรรพบุรุษ
กวีถ่ายทอดวิถีชีวิตของคนในสมัยก่อนที่ต้องอยู่ป่าอยู่ดง อยู่รอดด้วยการพึ่งพาอาศัยกันระหว่างคนกับป่า หาเลี้ยงชีพด้วยการเก็บของป่าขาย ตรงกับชีวิตจริงของชาวบ้านป่าสมัยก่อน
5. คุณค่าด้านอักษรศาสตร์
กวีใช้ภาษาเข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน มีการเรียงร้อยถ้อยคำโดยลำดับความสำคัญจากน้อยไปหามาก ทำให้ผู้อ่านรู้สึกมีอารมณ์ร่วมมากขึ้นเรื่อยๆ มีการเพิ่มอารมณ์ความรู้สึกให้สูงสุดและค่อยๆคลี่คลายลงในตอนท้าย นับว่าเป็นศิลปะในการแต่งที่ดีเยี่ยมจริงๆ
ข้อคิดจากเรื่อง
เรื่องนี้ให้ข้อคิดในเรื่องการครองคู่ ความไว้เนื้อเชื่อใจ และการอยู่ร่วมกับคนในครอบครัว ในตอนที่องค์มณีพิชัยพบยอพระกลิ่นในปล้องไม้ไผ่ พระองค์ด่วนตัดสินพระทัยพานางมาเป็นชายาเลย โดยมิได้สืบเสาะหาภูมิหลังของนางเสียก่อน ทำให้พระมเหสีจันทรเทวีไม่พอพระทัยอย่างยิ่ง และด้วยความถือยศถือศักดิ์ของพระนางเอง ทำให้ก่อกรรมทำเข็ญอย่างไม่น่าให้อภัย และด้วยความหูเบา ไม่ยอมไตร่ตรองอะไรให้ถี่ถ้วนนขององค์มณีพิชัย ทำให้พระองค์เชื่อคำพระมารดาจนขับไล่ยอพระกลิ่นออกจากเมือง เรื่องนี้สอนให้ตระหนักว่า การครองคู่ควรมีความไว้เนื้อเชื่อใจเป็นที่ตั้ง มิเช่นนั้นความรักอาจไม่ยืนยาว และต้องพังลงอย่างน่าเสียดาย
ขอบคุณภาพจาก broadcastthai
- 👁️ ยอดวิว 834
- 👍 ถูกใจ
แสดงความคิดเห็น