พุทธพาณิชย์...สิ่งที่ควรหรือไม่ควร บาปหรือบุญ!

-A A +A
พุทธพาณิชย์...สิ่งที่ควรหรือไม่ควร บาปหรือบุญ!

พุทธพาณิชย์...สิ่งที่ควรหรือไม่ควร บาปหรือบุญ!

หมวดบทความ: 

หากใครเป็นชาวพุทธ แน่นอนว่าสถานที่ที่เราต้องไปเพื่อทำบุญหรือกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ศาสนสถานแห่งนั้นก็คือวัดต่างๆ นั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นวัดที่มีที่ตั้งอยู่ในเมือง หรือวัดป่า ตลอดจนสำนักปฏิบัติธรรมทั้งหลายก็ด้วย ซึ่งบางวัดก็เต็มเปรี่ยมไปด้วยความสงบร่มเย็น เป็นสิ่งที่ศาสนสถานควรพึงมี แต่ทว่าบางวัด หากดูๆ ไปแล้วก็ชั่งวุ่นวายเสียจริง เนื่องเพราะต่างก็เต็มไปด้วยฝูงชนมากหน้าหลายตา ซึ่งแต่ละคนต่างก็เดินทางมาวัดเหล่านั้นด้วยความศรัทธา หากเป็นเช่นนั้นทั้งหมดก็คงดีไม่น้อย...ทว่าไม่ใช่เลย

เพราะหลายวัดกลับใช้สถานที่อันศักดิ์สิทธิ์มาหารายได้ จนวัดมีความใหญ่โตโอลานปานพระราชวังหลังหนึ่งก็ไม่เกินเลยไปมากนัก ซึ่งกิจกรรมที่ใช้ในทางพุทธพาณิชย์ ก็มีตั้งแต่การบูชาองค์พระประจำวันเกิด การซื้อธูปเทียนถวายดอกไม้ ถวายจีวร การปล่อยสัตว์ ยิ่งหากมีทุนทรัพย์เพียงพอ ปล่อยสัตว์ใหญ่เช่นโคกระบือได้ บุญที่ทำก็ยิ่งเพิ่มพูนทวีขึ้น การบูชาเครื่องรางของขลังเพื่อเป็นสิริมงคล รวมถึงอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งทางวัดได้เตรียมเอาไว้ให้ จนเรียกได้ว่า หากเดินเข้าไปในวัด ถ้าอยากจะทำบุญให้ครบทั้งหมด จะต้องหมดเงินไปหลายพันบาทกันเลยก็ว่าได้

จากการหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตและจากประสบการณ์ส่วนตัวที่ได้เคยไปวัดกับครอบครัวมาหลายที่ ทำให้พอทราบว่า นับวันพุทธพาณิชย์ในประเทศไทยยิ่งเกิดมากขึ้น ซึ่งปัจจัยส่วนหนึ่งนั้น เป็นเพราะค่านิยมของคนไทยบางกลุ่มเอง ที่มีความเชื่อว่า ยิ่งทำบุญมาก บริจากทรัพย์สินมาก ก็จะได้บุญมากตามไปด้วย ซึ่งถามว่าความเชื่อนี้ถูกต้องหรือไม่ ก็คงตอบได้ยาก เพราะการทำเช่นนี้ ก็ถือเป็นการทำดีอีกรูปแบบหนึ่ง หากแต่ถ้าเราหันไปมองทางหลักคำสอนดั้งเดิม เราก็จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า สิ่งที่พระพุทธเจ้าท่านสอนไม่ได้เป็นเช่นนี้ เพราะท่านสอนให้อยู่อย่างเรียบง่าย การถือศีลเจริญสมาธิพาวนาเพียงอย่างเดียวก็ได้บุญมากแล้ว ส่วนในด้านพระสงค์ ท่านก็มิให้แตะต้องเงิน มิให้ยึดติดกับทรัพย์สินทางโลกเลยแม้แต่น้อย

ดังนั้น เมื่อเราหันกลับมามองในยุคสมัยปัจจุบัน ก็จะเห็นได้ว่า ศาสนาพุทธ เริ่มถูกทุนนิยมกลืนไปทีละน้อย หลักคำสอนต่างๆ เริ่มถูกบิดเบือนไปจากเดิม การพาณิชย์ที่เกี่ยวกับศาสนามีมากขึ้นทุกวัน คนส่วนหนึ่งเริ่มคิดว่า พุทธพาณิชย์เป็นการทำบุญที่สะดวกรวดเร็ว เพราะไปเพียงสถานที่เดียวได้ทำบุญตั้งหลายอย่าง ทั้งบริจากค่าน้ำค่าไฟ ได้หยอดตู้บริจากเพื่อร่วมสร้างพระอุโบสถโดยที่ตัวเองไม่ต้องเสียเวลาหรือเสียเงินมาก ได้แก้ดวงชะตาที่เลวร้ายของตนให้เปลี่ยนเป็นดี ได้ทำทานและหวังว่าตัวเองจะได้รับโชคลาภ มีเงินมีทองไหลมาเทมาให้ใช้ไม่ขาดมือ

ซึ่งหากกล่าวถึงพุทธพาณิชย์นั้นมีหลายรูปแบบมาก แต่ที่พอจะเห็นและแยกแยะได้อย่างชัดเจนมีรูปแบบดังนี้

รูปแบบที่หนึ่ง คือการบูชารูปเคารพและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จะเห็นได้ว่า ปัจจุบันนี้ คนหลายกลุ่มต่างก็เดินทางไปวัดที่ขึ้นชื่อว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้นภายในวัดนั้นๆ ก็จะเต็มไปด้วยองพระพุทธรูป รูปเทวดา แท่นบูชาพระมากมาย นอกจากนี้ ทางวัดยังได้มีการเชิญชวนให้ร่วมกันถวายธูปเทียน นำทองคำเปลวไปติดองพระเพื่อเป็นสิริมงคล มีการให้บูชาของขลัง เช่นรูปเคารพหรือต้นตะเคียนหรือกุมารทอง เพื่อเสริมความร่ำรวย อีกทั้งยังมีการจำนายเครื่องเส้นไหว้ถวายแก้บน มีนางรำเพื่อใช้บริการในการแก้บนอีกด้วย ซึ่งสิ่งที่ไล่มานี้นี่เองคือช่องทางที่ทำให้ทางวัดได้กำไร ทั้งการขายเครื่องเส้นไหว้ การบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือได้จากผู้ที่มาเช่าสถานที่เพื่อขายของศักดิ์สิทธิ์นั่นเอง

รูปแบบที่สอง คือกิจกรรมหรือพิธีกรรมในรูปแบบการบริการตนเอง กล่าวคือ จะมีป้ายเชิญชวนให้ผู้ที่เดินผ่านไปมาทำกิจกรรมนั้นๆ โดยต้องเสียค่าบริจากเล็กน้อย ซึ่งก็จะมีบทสวดสั้นๆ ให้ โดยบางช่วงบางตอนก็จะเปิดโอกาสให้พูดชื่อของตัวเองเข้าไปด้วย โดยพิธีกรรมนี้จะเป็นในลักษณะการอธิษฐานขอ ดังนั้นจึงไม่มีพระสงค์เป็นผู้ประกอบพิธี นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอื่นๆ เช่น ตักบาตรเหรียน (หยอดเหรียนลงในบาตร) การปิดทองลูกนิมิต การลอยเทียนสีประจำวันเกิด การทิ้งเหรียนลงในรอยพระพุทธบาทจำลอง ตักบาตรข้าวสาร บูชาเทียนสืบชะตา บูชาเทียนสะเดาะเคราะห์ ทำบุญแก้ปีชง เติมน้ำมันตะเกียง (ต่อดวงชะตาเสิรบารมี) การลอดโบสถ์ การเขียนใบโพธิ์เงินโพธิ์ทอง เป็นต้น โดยในการเชิญชวนให้ทำกิจกรรมเหล่านี้ มักจะอ้างถึงอานิสงค์หรือสิ่งที่จะได้รับเอาไว้ด้วย เช่น หากทำแล้วชีวิตจะดีขึ้น หากทำแล้วจะได้พบเนื้อคู่ หากทำแล้วจะถูกหวย ซึ่งแต่ละกิจกรรมก็จะต้องเสียค่าบริการเล็กน้อย บางกิจกรรมก็ตามกำลังศรัทธา บางกิจกรรมก็กำหนดค่าใช้จ่ายเอาไว้ ซึ่งก็แล้วแต่อุปกรณ์ที่ใช้บูชา

รูปแบบที่สาน การเชิญชวนบริจากโดยตู้รับบริจากหรือเครื่องเสี่ยงทาย ซึ่งพุทธพาณิชย์รูปแบบนี้มักจะมีคำอธิบายสั้นๆ ติดเอาไว้ข้างตู้บริจาก โดยจะอธิบายว่าค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะนำไปใช้อะไร เช่นซื้อหลังคาวัด ซื้อหลอดไฟ จ่ายค่าไฟค่าน้ำ ซื้อโลงศพ ชำระหนี้สงค์ โดยป้ายหรือตู้บริจากเหล่านี้ มักจะตั้งอยู่บริเวณใกล้ๆ กับหุ่นรูปต่างๆ ที่สามารถส่งเสียงพูดที่อัดเอาไว้ หรือขยับได้เล็กน้อย หรือทำเป็นรูปเกจิอาจารณ์เพื่อสวดมนต์ส่งเสียงให้พร รวมไปถึงเครื่องเซียมซีหยอดเหรียนซึ่งผู้คนชอบกันมาก อีกทั้งยังสร้างรูปปั้นช้างหรือรูปแบบอื่นๆ ไว้ให้ยกน้ำหนักว่าจะยกขึ้นไม่ขึ้น เพื่อเป็นการเสี่ยงทายอีกด้วย

รูปแบบที่สี่ คือการที่มีบริการให้เช่าพระเครื่อง บูชาของขลังวัตถุมงคลต่างๆ โดยรูปแบบนี้เท่าที่สังเกตได้เกิดขึ้นมานานมากแล้ว ซึ่งการทำในลักษณะนี้ เป็นการหารายได้โดยอาศัยความเชื่อ ความศักดิ์สิทธิ์ของศาสนา ประกอบกับการสร้างเรื่องเหล้าในด้านวิธีสร้างหรืออิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์เพื่อเรียกความสนใจ มีการเชื่อมโยงไปถึงความศักดิ์สิธิ์ของพระเกจิที่สร้างว่าเก่งขนาดไหน มีการกระจายข่าวสารบอกเหล้าถึงประสบการณ์ของผู้ที่เคยใช้งาน มีการทำการตลาดหรือโฆษณา ตามสื่ออินเทอร์เน็ต ติดป้ายประกาส หรือลงหนังสือพิมพ์ นอกจากนี้ ยังได้มีการอธิบายถึงจุดประสงค์ที่จัดสร้างขึ้น เช่นสร้างขึ้นเพื่อเป็นรายได้ไปเผยแผ่ศาสนา การสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการสร้างองค์พระขนาดใหญ่ หรือนำไปสร้างโบสถ์ เป็นต้น

รูปแบบที่ห้า คือการให้บริการทางพิธีกรรม โดยให้พระสงค์เป็นผู้นำในการทำพิธี เช่น พิธีกรรมขึ้นบ้านใหม่ เพื่อเป็นความสิริมงคล พิธีกรรมอุปสมบท การฌาปนกิจ หรือพิธีเฉพาะบางอย่าง นอกจากนี้ บางวัดยังได้มีการเชิญชวนให้ผู้ที่สนใจ เข้าร่วมพิธีทางศาสนาตามประเพณีต่างๆ ซึ่งถ้างานเล็กก็จะนำโดยพระสงค์องค์เดียว แต่ถ้างานใหญ่ๆ ก็จะมีพระสงค์เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก โดยหากพระมียศสูง ก็จะมีค่ายกครู หรือค่าพานไหว้สูงตามไปด้วย

รูปแบบที่หก คือการเชิญชวนเพื่อร่วมสร้างพระหรือวัตถุมงคลต่างๆ โดยให้เหตุผลถึงการร่วมกันสืบทอดพระศาสนา ซึ่งก็จะมีการสร้างองค์พระขนาดใหญ่ โดยทางวัดที่สร้าง ก็จะขอเชิญชวนให้ระดมทุนบริจากเพื่อร่วมเป็นเจ้าภาพ ซึ่งการร่วมกันสร้าง จะทำให้มีบุญบารมีมาก หรือบางวัดก็อาจมอบของตอบแทนเป็นเครื่องรางเพื่อเป็นของที่ระลึกให้หลังจากที่บริจากไปแล้ว

นอกจากสิ่งที่กล่าวไปทั้งหมด ก็ยังมีกลวิธี หรือรูปแบบของพุทธพาณิชย์อีกมากมาย ซึ่งจากสภาพการณ์ดังกล่าว ก็ทำให้มิอาจพูดได้เต็มปากว่า สิ่งที่ปรากฏขึ้นนี้เป็นสิ่งที่ดี เนื่องเพราะ ถึงจะทำให้คนเรารู้จักการทำทาน แต่ทว่าก็ทำทานเพราะหวังผลตอบแทนซะส่วนใหญ่ อย่างเช่น การบริจากหรือบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็เนื่องจากอยากให้ตัวเองมีโชคร่ำรวย อยากให้ตัวเองมีชีวิตที่ดี ซึ่งหลายๆ อย่างก็ขัดกับหลักคำสอนดั้งเดิม ดังนั้นการที่จะทำบุญแล้วให้ “ได้บุญ” จริงๆ ก็คงต้องอยู่ที่จิตใจว่า การทำบุญของเรานั้นทำด้วยใจบริสุทธิ์หรือไม่ หวังสิ่งตอบแทนหรือเปล่า หากเราทำบุญด้วยใจสะอาดบริสุทธิ์โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนแล้ว เราก็จะได้บุญ นอกจากนี้ การมีความเชื่อก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี เพราะอย่างน้อย ก็ทำให้เรารู้จักเคารพคนอื่นๆ ทำให้เรารู้จักเคารพศาสนา แต่ความเชื่อนั้น ก็ต้องมีขอบเขต ไม่ใช่ไปหลงเชื่อจนงมงาย ใช้เงินไปซื้อบุญเพียงอย่างเดียว เพราะหากเรางมงายจนเกินไป แทนที่จะได้บุญ เราก็อาจจะได้บาปกลับมาแทนก็เป็นได้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

มศว! ตีแผ่ “10รูปแบบ” ธุรกิจพุทธพาณิชย์ สร้างผลประโยชน์แบ่งวัด-ผู้เกี่ยวข้อง - Manager Online

https://mgronline.com/specialscoop/detail/9600000110404

 

แสดงความคิดเห็น

 

ข้อควรทราบ เนื่องจากผู้ดูแลหลักของเว็บไซต์เป็นคนตาบอด หากพบการแสดงผลที่ผิดเพี้ยนและสร้างความไม่สะดวกต่อการใช้งาน โปรดแจ้งทีมงานได้ในทุกช่องทาง

เราอยากให้สมาชิกทุกท่านอยู่กันอย่างครอบครัวที่อบอุ่น ให้สังคมภายในเว็บ เป็นสังคมที่ดี ดังนั้น สมาชิกทุกท่านโปรดเคารพในสิทธิของตนเองและผู้อื่น

ผลงานที่ถูกเผยแพร่บนเว็บ ให้ถือว่าลิขสิทธิ์เป็นของผู้เผยแพร่เอง ห้ามมิให้บุคคลอื่นนำไปเผยแพร่ ก็อปปี้ หรือนำไปดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของผลงานโดยเด็ดขาด หากมีการฝ่าฝืน แล้วถูกดำเนินคดีจากเจ้าของผลงาน ทางเว็บมิขอเกี่ยวข้อง เพราะได้แจ้งเตือนเอาไว้อย่างชัดเจนแล้ว

หากพบบทความที่มีเนื้อหาไปในทางใส่ร้ายผู้อื่น หรือทำให้ผู้อื่นเสียหาย แจ้งเข้ามาได้ตามช่องทาง Email keangun2018@gmail.com ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทางทีมงาน จะทำการตรวจสอบ และหากเป็นจริง จะนำผลงานดังกล่าวออกจากเว็บไซต์ ไม่เกิน 1 วัน

Copyright © 2018-2025 keangun. All Right Reserved.