นวนิยาย “ลูกผู้ชาย” นักกฎหมายในอุดมคติ
นวนิยายเรื่อง “ลูกผู้ชาย” เป็นผลงานของคุณ “สีบูรพา” หรือ “กุหลาบ สายประดิษ” ซึ่งเป็นนักเขียนรุ่นเก่า โดยผลงานมีทั้งนวนิยาย หรือหนังสือที่เกี่ยวกับการเมืองอีกหลายเรื่องด้วยกัน
นวนิยายเรื่องลูกผู้ชายนี้ เนื้อเรื่องกล่าวถึง “มาโนช รักสมาคม” ชายหนุ่มที่มีนิสัย ซึ่งเรียกได้ว่า เป็น “ลูกผู้ชาย” อย่างแท้จริง เนื่องเพราะในวัยเด็กนั้น ตัวของมาโนช กับรำพันธ์ ถือได้ว่าเป็นเพื่อนที่รักกันมาก ส่วนอีกคนที่สำคัญกับคนทั้งสอง ก็คือละเมียด เพื่อนสาวบ้านใกล้เรืองเคียงของมาโนชนั่นเอง
เหตุที่ทำให้คนทั้งสามสนิทกัน เพราะนอกจากจะมีอุปนิสัยที่ดีไม่ต่างกันแล้ว ทั้งสาม ยังได้คอยช่วยกันรับมือจากปัญหา ที่ “คีรี” มักจะสร้างขึ้นมาให้กับมาโนชอยู่ตลอดทุกครั้งเมื่อมีโอกาส
ภายหลังจากเรียนจบชั้นมัธยม คนทั้งสี่คน ซึ่งนับรวมนายคีรีเข้าไปด้วย ก็ได้ต่างแยกย้ายกันไปตามวิถีของตน ส่วนตัวของมาโนชและคีรี เลือกเรียนทางกฎหมาย โดยคีรีคิดว่า ตนจะต้องสอบให้ชนะมาโนชให้ได้ ในทางกลับกัน มาโนชกลับมิได้คิดจะแข่งขันกับใครเลยแม้แต่น้อยเลย เขาทำเพียงตั้งใจดูหนังสือ โดยมิได้เที่ยวเตร่เหมือนใครหลายๆ คน
เมื่อถึงคราวสอบ ปรากฏว่า นายมาโนช สอบได้อันดับสอง ส่วน “ทำนอง” ผู้เป็นเพื่อนชายที่สนิทของมาโนชกลับสอบไม่ติด ส่วนอีกด้านหนึ่ง นายคีรี ซึ่งมิได้มีความตั้งใจเรียนมากนัก ก็เป็นอันแน่นอนว่า เขาเองก็สอบไม่ผ่านเช่นกัน
วันเวลาผ่านไป ในขณะที่มิตรภาพระหว่างมาโนช กับทำนองก็เหนียวแน่นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้ยังรวมเอา “อาภา” ผู้เป็นน้องสาวของทำนองเข้าไปด้วย โดยอาภา มีความพอใจในตัวของมาโนชมาพักหนึ่งแล้ว แต่แอบเก็บเอาไว้ โดยความรู้สึกของอาภามาเริ่มชัดเจนเห็นได้ชัดเอาก็เมื่อตอนไปเที่ยวตากอากาศณ์กันที่บางแสนและหัวหินนั่นเอง
ที่นั่น มาโนชได้มีโอกาสพบกับรำพันธ์ผู้เป็นเพื่อนเก่าแก่อีกครั้ง ทำให้มิตรภาพในวัยเด็กของทั้งคู่หวนกลับมาอย่างเต็มหัวใจ รอบนี้ ทั้งมาโนชและรำพันธ์ ต่างก็มีความรู้สึกดีในทางฉันชู้สาวให้แก่กัน แต่เพราะต่างก็คิดไปเองว่าอีกฝ่ายไม่รักตน เลยปากหนัก ไม่ยอมเผยความรู้สึกให้กันสักที เย็นวันหนึ่ง มาโนชได้พารำพันธ์ไปแนะนำให้อาภากับทำนองได้รู้จักกัน เมื่อรำพันธ์ได้เห็นอาภา ก็ให้คิดไปเองว่า มาโนชและอาภาคงรักชอบกันอยู่แล้ว ทำให้เจ็บหัวใจนัก ในทางด้านทำนอง ก็แอบรักแอบชอบรำพันธ์ตั้งแต่แรกเห็น ดังนั้นเหตุการณ์นี้ จึงเป็นปัจจัยสำคัญ ทำให้เกิดโศคนาฏกรรมทางความรักขึ้นอย่างเสียมิได้
หลังจากกลับมาที่เมืองกรุง ทำนองได้ไปพบมาโนชจนถึงที่บ้านในคืนหนึ่ง ทำนองขอให้มาโนชช่วยตนกับรำพันธ์ให้รักกัน ด้วยความรักเพื่อน และมีความเสียสละอย่างถึงที่สุด มาโนชจึงรับคำ แล้วไปช่วยพูดกับรำพันธ์ให้จนได้ เพราะเหตุดังกล่าวนี้ รำพันธ์จึงเข้าใจไปว่า มาโนชไม่รักตน จึงตัดสินใจแต่งงานให้กับทำนองในที่สุด
ด้วยความเจ็บช้ำในหัวใจ ประกอบกับความเกรงใจในตัวของทำนองเพื่อนรัก ในเวลาต่อมา มาโนชและอาภา จึงได้แต่งงานกันเป็นคู่ถัดมา ด้วยนิสัยที่ไปกันไม่ค่อยได้ บวกกับมาโนชเอง ก็ไม่ได้ชอบในตัวอาภาเท่าไหร่อยู่แล้ว มาโนชจึงมุ่งไปในทางการศึกษาเสียส่วนใหญ่ โดยมิได้ให้ความสำคัญกับอาภาเท่าใดนัก กระทั่งเวลาต่อมา มาโนชได้เข้าสอบไปเรียนต่อที่เมืองนอก จนได้อันดับหนึ่ง
วันเดินทางไปเรียนต่อของมาโนช เขาได้พบกับเพื่อนเก่าอีกหลายคน หนึ่งในนั้นคือละเมียดและคีรี มาโนชเริ่มรู้ในตอนนั้น ว่าละเมียดรักตนมานานแล้ว แต่เขาก็มิอาจตอบรับเธอได้อีกแล้ว ส่วนคีรีมาหาในจุดประสงค์ที่ไม่ทราบแน่นอน
มาโนชเดินทางไปเรียนได้ไม่ถึงเดือน คีรีก็เข้ามาตีสนิทกับแม่อาภา คีรีใส่ร้ายมาโนชไปในทางเสียหาย ขณะเดียวกันก็ตามเอาใจอาภาทุกอย่าง จนสุดท้าย ด้วยความที่อาภายังเป็นเด็กอยู่มาก จึงหลงเชื่อคีรี แล้วหนีตามกันไป ทั้งที่ตนก็อุ้มท้องอยู่
ผ่านไปเจ็ดปี มาโนชกลับมาเมืองไทย์อีกครั้ง ทำนองบอกความจริงให้ทราบ สร้างความปวดร้าวให้กับเขามาก ที่สำคัญคือเป็นห่วงลูก มาโนชตามข่าวลูกไปเรื่อยๆ ตำแหน่งการงานของทำนองและมาโนชก็เลื่อนขึ้นไปเรื่อยๆ ระหว่างนั้น เขาก็ได้เพื่อนเล่นคนใหม่ นั่นก็คือ “เด็กหญิงรำไพ” ซึ่งเป็นบุตรสาวของรำพันธ์ มาโนชรู้สึกผูกพันกับเด็กสาวอย่างประหลาด ราวกับความรักระหว่างเขากับรำพันธ์เกิดขึ้นมาอีกครั้ง
เวลาหมุนเปลี่ยนไป ครอบครัวของทำนองได้ย้ายไปประจำที่ต่างจังหวัด มาโนชจึงได้อยู่บ้านเพียงลำพัง ระหว่างนั้น อาภาและคีรี พร้อมด้วยบุตรชายก็ได้ไปหยุดใช้ชีวิตอยู่ที่เมืองโคราช เพราะคีรีหาเงินไม่เป็น จึงได้เอาดีทางการพนันและการปล้น กระทั่งโดนจับทั้งพ่อทั้งลูก ส่วนอาภาไม่มีส่วนรู้เห็น จึงไม่โดนตามไปด้วย ด้วยความที่อาภาเป็นห่วงลูก จึงได้กลับเมืองกรุงไปโกหกมาโนชว่า ลูกชายของเขาและเธอกำลังจะถูกส่งไปรับโทษแล้ว อยากให้มาโนชช่วย มาโนชคิดหนัก ด้วยความเป็นห่วงลูกชายตน แต่อีกใจ ก็ยึดถือในตัวบทกฎหมาย สุดท้ายแข็งใจปล่อยเด็กให้รับโทษไปตามความเป็นจริง
อาภามาตัดท้อที่ช่วยลูกเธอไว้ไม่ได้ มาโนชอธิบายให้เธอเข้าใจ สุดท้าย อาภายอมรับความจริง แล้วบอกข่าวดีว่า ที่จริง ลูกของเธอกับมาโนชเป็นผู้หญิง อาภาได้นำพาพ่อและลูกสาวมาพบกัน ก่อนจะขอตัวจากไป
ในตอนจบ คีรีสำนึกได้เมื่ออยู่ในคุก เขาเขียนจดหมายฝากฝังลูกชายไว้ให้มาโนชดูแล ส่วนอาภาหวังใช้ชีวิตอยู่ภายใต้พุทธศาสนา ตัวมาโนชเองมีความสุขอยู่กับลูกสาว สุดท้าย ทำนองและรำพันธ์เห็นใจในความรักของมาโนช ได้ยกรำไพผู้เป็นบุตรสาวให้ มาโนชจึงได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขต่อไป
จากการอ่าน ทำให้ผู้เขียนได้ซาบซึ้งไปกับนิสัยที่เป็นลูกผู้ชายและไม่ย่อท้อของมาโนช ซึ่งเป็นนิสัยที่หาได้ยากในโลกแห่งความเป็นจริง นอกจากนี้ ในเนื้อเรื่องยังเป็นการสะท้อนให้เห็นสังคมในยุคนั้นออกมาเป็นอย่างดี เช่น ในเรื่องถาณะครอบครัว เรื่องชนชั้นวรรณะ เรื่องการศึกษา เรื่องการเดินทาง เรื่องแนวคิดของคนในยุคนั้น และอื่นๆ
โดยการมองผ่านตัวละคร “มาโนช รักสมาคม” ยังทำให้ผู้เขียนมองเห็นความเป็น “นักกฎหมายหัวก้าวหน้า” ของมาโนชอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นความไฝ่รู้ไฝ่ศึกษา การที่ไม่ยอมแพ้ต่อผู้มีอำนาจ สุดท้ายที่เห็นได้ชัดเจนสุด คือการที่ไม่ใช้กฎหมายไปในทางที่ผิด ดังจะเห็นได้จากตอนที่ มาโนชอยากจะช่วยเหลือเด็กที่ตนเข้าใจผิดว่าเป็นลูกชาย แต่สุดท้ายก็ไม่ได้ทำ ถึงแม้ในจิตใจจะรู้สึกเจ็บปวดก็ตาม
ในด้านของสำนวน ผู้เขียนมีความชอบเป็นส่วนตัว กล่าวคือ เป็นสำนวนที่ค่อนข้างเก่า คำบางคำยังเป็นคำที่แฝงกลิ่นอายของสังคมสมัยก่อน ถึงแม้ในทีแรก ผู้วิเคราะจะงงกับการใช้คำว่า “เธอ” กับมาโนชที่เป็นตัวละครเพศชาย แทนที่จะใช้กับตัวละครเพศหญิงอย่างทุกวันนี้ ทว่าหลังจากอ่านไป เมื่อทำความเข้าใจในสำนวนการบรรยายของนักเขียนได้แล้ว ผู้เขียนกลับมองว่า การบรรยายเช่นนี้ ช่างให้ความสำราญต่อใจผู้เขียนมากจริงๆ เพราะถึงสำนวนมิได้หวือหวา หรือทันสมัย แต่ก็แฝงความเรียบเรื่อย และอบอุ่นอยู่ในที เพราะเหตุต่างๆ อันได้กล่าวไปแล้ว ผู้เขียนจึงยกให้หนังสือเล่มนี้ เป็นหนังสือที่ผู้เขียนชื่นชอบอีกหนึ่งเล่ม
- 👁️ ยอดวิว 3250
แสดงความคิดเห็น