คำเป็น คำตาย แยกได้...ง่ายนิดเดียว
คงจะมีใครหลายคน ที่รู้สึกปวดหัวกับการแยก “คำเป็น” หรือ “คำตาย” ในภาษาไทยไม่น้อย ยิ่งโดยเฉพาะน้องๆ ที่กำลังอยู่ในวัยเรียน ซึ่งมักเจอข้อสอบ ที่ให้แยกคำเป็นคำตาย และให้หาว่า คำเป็นมีกี่คำ คำตายมีกี่คำ ขนาดในข้อสอบ O-NET ในแต่ละปี ก็ยังมีข้อสอบประเภทนี้ มีมาให้เห็นอยู่เรื่อยๆ
อันที่จริงแล้ว การแยก “คำเป็น” และ “คำตาย” ในภาษาไทยไม่ได้ยากอย่างที่คิดนะครับ ขอเพียงเราหาวิธีคิดง่ายๆ ให้ได้ การแยกคำเหล่านี้ ก็จะทำได้อย่างรวดเร็ว ไม่ได้เสียเวลาหานานเลย
แน่นอนครับว่า วันนี้ ผมก็จะนำวิธีคิดดังกล่าวมาแบ่งปันให้กับท่านผู้อ่าน เพื่อให้ท่านผู้อ่านนำไปใช้งาน หรือนำไปบอกต่อกันครับ
ก่อนอื่น ท่านผู้อ่านจะต้องมีพื้นฐานเบื้องต้นเกี่ยวกับ มาตราตัวสะกดของไทย ก่อนครับ ถึงจะนำวิธีของผมไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เริ่มแรก ให้เรานำมาตราตัวสะกดแม่ กก , กด , กบ มาวางเอาไว้ที่มือด้านซ้ายของเราครับ (แค่จำเอาไว้นะครับ อย่าเผลอเขียนจริงๆ ละ)
ต่อมา ให้เรานำมาตราที่เหลือได้แก่ แม่ กง , เกอว , กน , เกย , กม มาวางเอาไว้ที่มือด้านขวาครับ
หลังจากแยกตามวิธีดังกล่าวไปแล้ว ให้เราจำเอาไว้ง่ายๆ ครับว่า คำใด ที่สะกดด้วยมาตราตัวสะกดที่อยู่ทางด้านซ้ายมือ ตัวนั้น...คือคำตายครับ
แต่ยังไม่หมดนะครับ เพราะการที่เราจะแยกได้ว่า คำไหนเป็นคำเป็นคำตาย ไม่ได้ขึ้นเพียงมาตราตัวสะกด กก , กด , กบ เท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับสระสั้นยาวด้วย
สระสั้นยาว ถ้าอธิบายกันสั้นๆ ก็คือ อะ อา , อิ อี , อึ อือ นี่แหละครับ โดย สระเสียงสั้น เป็นสระที่อยู่ข้างหน้าสระเสียงยาว ดังนั้นต่อไปนี้ ผมขอเรียกเจ้าสระเสียงสั้นว่า “หน้า” และขอเรียกสระยาวว่า “หลัง” นะครับ
หากคำใด ที่สะกดด้วยมาตราทางมือฝั่งซ้าย เช่นคำว่า กัด , พบ , กลับ , ศพ เป็นต้น คำเหล่านี้ จะเป็นคำตายครับ
ในทางหนึ่ง หากคำที่มีสระหน้าเป็นองค์ประกอบ คำเหล่านี้ ก็จะกลายเป็นคำตายเช่นกันครับ เช่น ขัด , ติด , คบ , พบ เป็นต้น
ในทางกลับกัน ถ้าในคำนั้นๆ ประกอบด้วยสระหน้า แต่มีตัวสะกดที่อยู่ในมาตราที่มือด้านขวา คำคำนั้น ก็จะกลายเป็น “คำเป็น” ครับ
เช่น กัน, ปัญ , ดง เป็นต้นครับ
แต่ถ้าคำใด ที่มีสระหลังเป็นองค์ประกอบ แล้วสะกดด้วยตัวสะกดที่อยู่ฝั่งมือด้านซ้าย คำคำนั้น ก็จะกลายเป็น “คำตาย” ครับ
เช่น มาก , ดาด, ฟาด , ภาพ เป็นต้นครับ
จะสังเกตได้ว่า คำตาย จะมีลักษณะเด่นๆ อยู่สองประการครับ นั่นก็คือ
- เป็นคำที่มีสระเสียงสั้นเป็นองประกอบ
- เป็นคำที่สะกดด้วยมาตราตัวสะกดจากแม่กก , กด , กบ
ส่วนของคำเป็น ก็คือคำที่มีสระหลัง เป็นองประกอบ โดยคำคำนั้น จะต้องไม่ถูกสะกดด้วยมาตราตัวสะกดจากมือด้านซ้ายครับ
เช่นคำว่า ปัญญา , กัน , ดวง , มน พาน , เกม , แม่ , แย่ , แก้ว เป็นต้นครับ
คำเป็นคำตาย ไม่ได้ยากอย่างที่คิด ยังไงแล้ว ลองนำกลวิธีที่ผมนำมาฝาก นำไปประยุกต์ใช้กันดูนะครับผม
อ้างอิง
:
- 👁️ ยอดวิว 4220
- 👍 ถูกใจ
แสดงความคิดเห็น